วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม ของทุกปี

ประวัติวันแรงงาน

วันนี้ Google ได้เปลี่ยน Doodie ด้วยให้เป็นสัญลักษณ์ของวันแรงงานแห่งชาติ ซึ่งแน่นอนว่า ภาพต่างๆ นั้นแสดงให้ถึงแรงงานรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ คนติดดิน ที่ทำงานสวน มาถึงคนทำงานออฟฟิต และไปสู่แรงงานขั้นสูงนั้น คือทางอากาศ ซึ่งแต่ละงานก็มีึความสำคัญแตกต่างกันไป ที่นี้เรามาดูกันดีกว่าว่า วันแรงงาน มีความสำคัญอย่างไรกันบ้าง

แรงงานคือพลังการผลิต นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดผลผลิตในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่อง และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควร จะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่าง จริงจัง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น ” วันแรงงานแห่งชาติ ” ตามที่คณะพรรคสังคมนิยมระหว่างชาติได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2432

ความเป็นมา วันแรงงานแห่งชาติ

พ.ศ. 2477 ได้มีการจัดตั้งกองกรรมกรขึ้น เพื่อทำหน้าที่ด้านการจัดหางาน และศึกษาภาวะความเป็นอยู่ของคนงานทั่วไป ในปี พ.ศ. 2499 รัฐบาลได้ มีการขยายกิจการด้านแรงงานสัมพันธ์มากขึ้น และประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับแรกในปี พ.ศ. 2508 และในปีเดียวกันนั้นได้มีการจัดตั้งกรมแรงงานขึ้น อีกทั้งประกาศใช้ พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ปัจจุบัน การบริหารแรงงานอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคมมีงาน สำคัญเกี่ยวข้องกับแรงงานดังนี้

1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น “วันแรงงานแห่งชาติ
1. การจัดหางาน
ด้วยการช่วยเหลือคนว่างงานให้มีงานทำ ช่วยเหลือนายจ้างให้ได้คนมีคุณภาพดีไปทำงาน รวบรวมเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการทำงาน แหล่งงาน ภาวะตลาดแรงงาน
2. งานแนะแนวอาชีพ
ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนและผู้ประสงค์จะทำงาน เพื่อให้สามารถเลือกแนวทางประกอบอาชีพที่เหมาะสมตามความถนัด ความ สามารถทางร่างกาย คุณสมบัติ บุคลิกภาพและความเหมาะสมแก่ความต้องการทางเศรษฐกิจ
3. การพัฒนาแรงงาน
ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแก่คนงาน และเยาวชนที่ไม่มีโอกาสศึกษาต่อโดยการฝึกแบบเร่งรัด
4. งานคุ้มครองแรงงาน
วางหลักการและวิธีการเกี่ยวกับชั่วโมงทำงาน วันหยุดงาน ตลอดจนการจัดให้มีสวัสดิการต่างๆ
5. งานแรงงานสัมพันธ์
ทำการส่งเสริมและสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้ ทั้งสองฝ่ายเข้าใจถึงลักษณะและสภาพของปัญหา ตลอดจน วิธีการที่เหมาะสมที่จะช่วยขจัดความเข้าใจผิดและข้อขัดแย้งอื่นๆ


ที่มา คลังปัญญาไทย
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

เนื้อหาแนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557



สร้างลูกรักให้เป็นนักอ่าน พ่อแม่ “ต้อง 11 - 7อย่า”


อ่านหนังสือร่วมกันกับลูกน้อย

การอ่านถือเป็นพื้นฐานของการพูด และการเขียน มีคนตั้งหลายคนเคยประสบความสำเร็จในชีวิตได้ด้วยการอ่าน ยิ่งอ่านมากยิ่งได้เปิดโลกทรรศน์มาก และยิ่งอ่านมากเราจะยิ่งมีคลังคำศัพท์มากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามเด็กที่ได้ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านตั้งแต่เด็กเขาจะเป็นคนรักการอ่านในตอนโตด้วย

ศ.คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ได้เคยกล่าวไว้ว่า “การส่งเสริมการอ่านจะต้องกระตุ้นให้เด็กเห็นว่า หนังสือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องอำนวยความสะดวกในบ้าน สร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการอ่านให้กับเด็ก แล้วความตระหนักก็จะเกิดแก่เด็กเองโดยธรรมชาติ โดยไม่ต้องมีการบังคับ” ดังนั้นการสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่านจึงต้องเริ่มต้นจากที่บ้านเป็นอันดับแรก

"พี่ตุ๊บปอง-เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป" กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ผู้ซึ่งทำงานด้านเด็กมาเกือบ 30 ปี ให้คำแนะนำว่า การจะสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่านที่ดีนั้น มีหลักง่ายๆ ว่าพ่อแม่ "ต้อง 11 - 7 อย่า" ถ้าทำได้ตามนี้รับรอง ลูกน้อยของคุณจะกลายเป็นหนอนหนังสือ และมีนิสัยรักการอ่านตั้งแต่เล็ก และในตอนโตอย่างแน่อน โดยต้อง 11 อย่างเริ่มจากต้องแรกคือ

1. ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
ถ้าต้องการให้ลูกมีพฤติกรรมอย่างไร พ่อแม่ต้องทำแบบนั้นให้ลูกเห็นเพื่อเป็นต้นแบบที่ดี นั่นหมายความว่าถ้าต้องการให้ลูกรักการอ่าน พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบของนักอ่านที่ดีด้วย เช่น มีหนังสือติดตัวอยู่ตลอดเวลา ว่างเมื่อไหร่อ่านเมื่อนั้น ว่างตรงไหนอ่านตรงนั้น หรืออ่านที่ไหนก็ได้ อ่านเมื่อไหร่ก็ได้

2. ต้องมีมุมหนังสือภายในบ้าน
คุณพ่อคุณแม่ต้องนำหนังสือที่อยู่ภายในบ้าน นำมาจัดวางไว้ด้วยกัน จัดเป็นมุมสบาย เป็นที่เป็นทาง ซึ่งเด็กก็จะรู้เลยว่า ถ้าเขาอยากอ่านหนังสือ ก็จะต้องมาอ่านที่มุมนี้ หรือถ้าลูกยังเล็ก เขาก็จะคลาน หรือเดินเข้ามาเปิดหนังสือเล่น หรือได้เห็นภาพสวยๆ เป็นต้น นอกจากนี้ต้องสร้างกติการ่วมกันด้วย เช่น อ่านแล้วต้องเก็บที่เดิม หรืออ่านอย่างทะนุถนอม (แต่ต้องไม่มีโทรทัศน์นะครับ)

3. ต้องเลือกสรรหนังสือสมวัย
คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ถือตัวเองเป็นใหญ่ เช่น เลือกหนังสือตามใจพ่อแม่ เพราะวัยของลูกไม่ใช่วัยของพ่อแม่ หนังสือที่พ่อแม่ชอบลูกอาจจะไม่ชอบก็ได้ ฉะนั้นหนังสือที่ดีสำหรับลูกต้องมีเนื้อหาที่สั้นๆ ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ตรงไปตรงมา น่าคิด น่าติดตาม เป็นภาษาที่ง่ายๆ ซ้ำๆ ย้ำๆ และทวนบ่อยๆ ภาพประกอบสวยงาม ขณะเดียวกันต้องกระตุ้นความคิด และเสริมสมองให้กับลูกด้วย

4. ต้องใส่ใจชวนกันไปอ่าน
คุณพ่อคุณแม่ต้องชี้ชวน หรือเชิญชวนให้ลูกมาอ่านหนังสือด้วยกัน การชักชวนที่ดีที่สุดคือ การที่พ่อแม่อ่านออกเสียงดังๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือชักชวนลูกให้มาเปิดหนังสือร่วมกันชี้ชวนพูดคุยชวนคุยถึงภาพในหนังสือ

5. ต้องชื่นชมกันและกันเสมอ
เวลาลูกหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน พ่อแม่ต้องชมลูก เพราะบางคนจะปากแข็ง คิดว่าถ้าชมมากลูกจะเหลิง เช่น ชื่นใจจังเลย วันนี้ลูกแม่อ่านหนังสือ (แต่ไม่ใช่ชมแบบเหน็บๆ หรือเสแสร้ง นะครับ แต่ต้องชมแบบจริงใจ)

6. ต้องนำเสนออย่างมีความสุข

ทุกครั้งที่คุณพ่อคุณแม่หยิบหนังสือมาอ่าน ขอให้เป็นเวลาแห่งความสุข ไม่ใช่หยิบมาแล้วอารมณ์เสีย แต่ต้องแสดงท่าทางที่เป็นสุข เพื่อที่ลูกน้อยจะได้มีความสุขใจในการหนังสือไปด้วย

7. ต้องหากิจกรรมสนุกๆ มาประกอบ
การอ่านหนังสืออย่างเดียวอาจไม่ถูกใจลูก ดังนั้นก่อนการอ่าน ระหว่างการอ่าน หรือหลังการอ่าน ถ้าพ่อแม่เตรียม และทำกิจกรรม หรือเล่นกับลูก ก็จะสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่านได้ง่ายขึ้น เช่น ทายปัญหาอะไรเอ่ย หรืออื่นๆ ที่สำคัญอย่าลืมตุ๊กตา ของเล่น หรือเกมต่างๆ ที่ควรนำมาอ่านไปเล่นไป อ่านไปร้องไป หรืออ่านไปเต้นไป นั่นจะทำให้ลูกไม่เบื่อ และสนุกกับการอ่านหนังสือร่วมกับพ่อแม่

8. ต้องชอบต่อยอดทางความคิด
เวลาคุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือ หรือนิทานให้ลูกฟังต้องตั้งคำถาม และเปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิดอยู่เสมอ เช่น “ไก่มีกี่ตา นับสิลูก แล้วหนูมีกี่ตาลูก เอ้ามีตาเท่ากับไก่เลย” เป็นต้น นี่จึงถือเป็นการต่อยอดทางความคิดขณะเล่านิทาน เจอช่องไฟตรงไหนที่เหมาะสมให้รีบต่อยอดทันที แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกเบื่อได้

9. ต้องไม่คิดถึงวัย

เวลาอยู่กับลูกพ่อแม่ต้องสลัดวัยที่เป็นอยู่ทิ้ง แล้วสวมบทบาทให้ใกล้เคียงกับลูก หรือรทำตัวร่วมสมัย ร่วมวัยกับลูก เล่นเป็นเล่น ร้องเป็นร้อง คลานเป็นคลาน วิ่งเป็นวิ่ง โดดเป็นโดด เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้อง และเป็นเพื่อนเล่นที่ดีของลูกได้ เชื่อว่า เพื่อลูกคุณต้องทำได้ครับ

10. ต้องใช้เวลาพอดี

การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ต้องใช้เวลาที่ไม่นานมากจนเกินไปจนทำให้ลูกเบื่อ หรือสั้นเกินไปจนทำให้ลุกหงุดหงิด ต้องสังเกตท่าทีของลูกว่า ยังต้องการฟังอยู่หรือเปล่า ถ้ายังต้องการฟังก็ควรอ่านไปเรื่อยๆ แต่ถ้าลูกเริ่มสนใจสิ่งอื่น ก็ควรจะยุติการอ่าน ไม่ควรฝืนลูกให้นั่งฟังต่อไป

11. ต้องมีระเบียบชีวิต
การอ่านหนังสือต้องทำทุกวัน หรือทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะอ่านหนังสือร่วมกันหลังจากรับประทานอาหาร ปิดโทรทัศน์ตอน 1 ทุ่ม แล้วอ่านหนังสือร่วมกัน หรืออ่านหนังสือก่อนนอนทุกวัน ดังนั้นถ้าทำเป็นประจำ ลูกจะเกิดความเคยชิน และปฏิบัติจนติดเป็นนิสัย “มีวินัย ใส่ใจการอ่าน ไม่นานเห็นผลแน่”

การสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่านไม่ใช่เรื่องยาก เริ่มต้นได้จากครอบครัว ลองนำไปใช้เป็นแนวทางกันดูนะครับ คงจะเป็นประโยชน์กับทุกครอบครัวที่ตั้งใจจะสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่านไม่ใช่น้อย เพราะได้มีการทดลองแล้ว ซึ่งได้ผลดีทีเดียว ส่วนอีก “7 อย่า” ที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูกนั้นมีอะไร สำคัญอย่างไรต่อการสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่านติดตามต่อเลยครับ


“7 อย่า” เคล็ดลับสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่าน มานำเสนอให้ทุกครอบครัวได้นำไปปฏิบัติกัน โดยเริ่มจาก...อย่าแรก

1. อย่ายัดเยียด

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนำหนังสือ หรือซื้อหนังสือแล้วบอกให้ลูกต้องอ่าน เพราะบางครั้งการอ่านต้องอ่านด้วยความรู้สึกอยากอ่านจริงๆ ทำให้ลูกอ่านอย่างสนุก และมีความสุข ถ้าไปบังคับ หรือยัดเยียดให้อ่าน ลูกอาจจะเครียด และเกลียดหนังสือไปเลยก็ได้

2. อย่าหวังสูง
คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคาดหวังว่า หนังสือจะทำให้ลูกเก่ง หรือมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องค่อยเป็นค่อยไป หรือถ้าหวังสูงเกินไป บรรยากาศภายในบ้านอาจตึงเครียดได้ ต้องคิดอยู่เสมอว่าลูกยังเล็ก จะทำอะไรเท่าผู้ใหญ่อย่างพ่อแม่คงไม่ได้ และอย่าเปรียบลูกกับเด็กคนอื่น แต่ต้องเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนมีก้าวย่างในการเรียนรู้ที่ต่างกัน

3. อย่ากังวล
พ่อแม่ต้องอย่ากังวลมากไป ลูกน้อยจะหยิบ จับ ตี ดึง ทุบ หรือขีดเขียนหนังสือ ต้องปล่อยวาง และปล่อยให้เขาขีดเขียนตามความต้องการบ้าง ขณะเดียวกันคุณพ่อคุณแม่ต้องสอนวิธีการใช้หนังสือให้กับลูกด้วย ทางที่ดีไม่ควรทำโทษ ตำหนิ หรือบ่นลูก

4. อย่าจ้องสอน

พ่อแม่ต้องไม่ควรจ้องสอนมากเกินไป แต่ควรใช้เรื่องสนุกๆ ในหนังสือภาพสวยๆ หรือพฤติกรรมของตัวละครมาเป็นช่องทางอบรมสั่งสอนลูกแทน เช่น คุณงามความดีของตัวละคร หรือสอนให้ลูกเห็นผลกรรมของคนไม่ดี ว่าท้ายที่สุดแล้ว ต้องได้รับโทษอย่างไรบ้าง เป็นต้น


5. อย่าถามมาก
การตั้งคำถามกับลูกขณะนั่งอ่านหนังสือ หรืออ่านนิทานด้วยกันเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กจะได้มีส่วนร่วมกับหนังสือ ทำให้ลูกกล้าแสดงออกอย่างมั่นใจ และแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ถามลูกมากเกินไป จะทำให้ลูกเบื่อการอ่านหนังสือไปเลยก็ได้ เพราะต้องมาคอยคิด และตอบคำถามมากมายทั้งๆ ที่บางเรื่องก็รู้อยู่แล้ว รวมทั้งหมดสนุกกับการติดตามเรื่องราวต่อไป

6. อย่าขัดคอ
เมื่อลูกออกเสียงไม่ชัด หรือพูดผิด คุณพ่อคุณแม่อย่าขัดคอ ตำหนิลูก หรือแสดงความเอ็นดูด้วยการหัวเราะขบขันเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ลูกเกิดอาการกล้าๆ กลัวๆ ไม่มั่นใจในการอ่านออกเสียงครั้งต่อไป จนอาจทำให้ขาดความเชื่อมั่นกับการอ่านออกเสียงขณะเรียนหนังสือที่โรงเรียนก็เป็นได้

7. อย่าเบื่อหน่าย
พฤติกรรม หรือการแสดงออกของพ่อแม่มีผลต่อชีวิตลูกทั้งทางตรง และทางอ้อม เรื่องนี้จึงต้องระวัง เมื่อพ่อแม่ตั้งใจที่จะสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่านแล้ว ก็ขอให้ทุ่มเทอย่างเต็มที่ ถ้าลูกสนใจในหนังสือ แล้วต้องการให้พ่อแม่มานั่งอ่านด้วยกัน ถ้าทำในทันทีไม่ได้ ต้องสร้างเงื่อนเวลา เช่น ให้แม่ทำกับข้าว ซักผ้า ถูบ้านให้เสร็จก่อน แล้วจึงจะอ่านหนังสือที่ลูกเลือกไว้ให้ฟังได้ แต่ทั้งนี้พ่อแม่ต้องทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับลูกด้วย ไม่เช่นนั้นจะทำให้ลูกผิดหวัง และไม่เชื่อพ่อแม่อีกต่อไป

สุดท้ายนี้ เชื่อได้เลยว่า การสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่าน จะเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาทันที ถ้าคุณพ่อ คุณแม่เข้าใจหลัก และเรียนรู้เทคนิค “ต้อง 11 - 7 อย่า” สร้างลูกรักให้เป็นนักอ่าน และก็คงถึงเวลา "สร้างลูกรักให้เป็นนักอ่าน" กันแล้ว เอาเป็นว่าขอเป็นกำลังใจให้กับทุกครอบครัวนะค่ะ


Life & Family

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

2 เมษายน วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพฯ



2 เมษายน วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพฯ
ในวันที่ 2 เมษายน ของทุกปี ถือเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั้งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในโอกาสนี้ ทางสกู๊ปเอ็มไทย จึงจะนำพระราชประวัติและ พระราชกรณียกิจสำคัญๆ โดยย่อมาฝากเพื่อนๆ ทุกคน เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ขณะที่พระชนมายุ ได้ 3 พรรษาเศษ พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา ทรงมีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาดสนพระทัยในการอ่านอย่างมาก ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จึงทรงมีพระสมญาอีกอย่างหนึ่งว่า “หนองหนังสือ” ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จประทับ ณ ที่ใด พระองค์จะทรงมีหนังสือติดพระหัตถ์อยู่เสมอ แม้จะเสด็จประทับในรถยต์หรือเครื่องบินก็ตาม พระองค์มีพระปรีชาสามารถในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านอักษรศาสตร์และดนตรีไทย ซึ่งพระองค์ได้นำมาใช้ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และให้การอุปถัมภ์ในด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศ จากพระราชกรณียกิจในด้านศิลปวัฒนธรรมนี้ พระองค์จึงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระสมัญญาว่า “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และ “วิศิษฏศิลปิน” นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม โดยทรงมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายหลากโครงการ ซึ่งโครงการในระยะเริ่มต้นนั้น มุ่งเน้นทางด้านการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารของเด็กในท้องถิ่นทุรกันดาร และพัฒนามาสู่การให้ความสำคัญทางด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาราษฎร และด้วยในวันที่ 2 เมษายนที่จะถึงนี้ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่เป็นมงคลยิ่ง เราทุกคน คนไทยควรจะรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และร่วมกันถวายพระพรในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ให้ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรง และทรงพระเจริญยิ่งยื่นนานด้วยนะครับ