วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ต้นมะแพร้ว

 มะแพร้ว


มะพร้าว

      มะแพร้ว กับมะพร้าว บางคนอาจรู้จักบางคนก็อาจไม่ทราบเพราะปัจจุบันหาดูมะแพร้วได้ยาก นอกจากจะมีผู้ที่อนุรักษ์ไว้เพราะเห็นว่าแปลกดี จากการศึกษาได้ข้อมูลดังนี้(คัดลอกมาจาก วิกิพีเดีย)
มะพร้าวมีการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร Plantae ส่วน Magnoliophyta ชั้นLiliopsida อันดับ Arecales วงศ์ Arecaceae สกุล Cocos สปีชีส์ C. nucifera ชื่อวิทยาศาสตร์Cocos nucifera L. มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล มะพร้าว เป็นพืชยืนต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วยเอพิคาร์ป (epicarp)คือเปลือกนอก ถัดไปข้างในจะเป็นมีโซคาร์ป (mesocarp) หรือใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ป (endocarp) หรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์ม หรือที่เรียกว่าเนื้อมะพร้าว ภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าว ซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด
ขณะที่มะพร้าวยังอ่อน ชั้นเอนโดสเปิร์ม (เนื้อมะพร้าว)ภายในผลมีลักษณะบางและอ่อนนุ่ม ภายในมีน้ำมะพร้าว ซึ่งในระยะนี้เรามักสอยเอามะพร้าวลงมารับประทานน้ำและเนื้อ เมื่อมะพร้าวแก่ ซึ่งสังเกตได้จากการที่เปลือกนอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ชั้นเอนโดสเปิร์มก็จะหนาและแข็งขึ้น จนในที่สุดมะพร้าวก็หล่นลงจากต้น
มะแพร้วมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cocos nucifera L. var. spicata K.C.Jacob เป็น variety หนึ่งของมะพร้าว (Cocos nucifera) (ดูข้อมูลมะแพร้วได้เพิ่มเติมที่http://www.pantown.com/board.php?id=5050&area=4&name=board13&topic=323&action=view)
หากสังเกตจากรูปที่นำมาให้ชมกันจะเห็นความเหมือนกับมะพร้าวคือลักษณะลำต้น กิ่ง ก้าน ใบแยกกันไม่ออก แต่หากสังเกตการออกดอก ออกผล ผลก็เหมือนมะพร้าว ความแตกต่างอยู่ที่มะแพร้วเวลาออกลูกมีงวงคล้ายทะลายตาล ส่วนมะพร้าวมีทะลาย มีจั่น คล้ายหางหนูแต่มะแพร้วไม่มี รูปที่เห็นนำมาจากสวนมะพร้าวข้างทางบ้านกระเบื้องน้อย ต.กระเบื้องใหญ่ อ.พิมาย
จ.นครราชสีมา ผมสังเกตเห็นความผิดปกติของมะพร้าวต้นนี้ ขณะที่ถีบจักรยานไปโรงเรียนตอนมัธยม(ยี่สิบกว่าปีที่แล้ว)ผมเกิดความสงสัยแต่ไม่ทราบเรียกว่าอะไรหรือจะเป็นมะพร้าวกลายพันธุ์ ไปเจอะอีกต้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเมื่อไปทัศนศึกษา ตอนเรียนวิท���าลัยครู เขาเขียนชื่อบอกไว้ว่ามะแพร้ว ทำให้ผมทราบชื่อเสียงเรียงนามของมัน ไปเจออีกต้นที่บ้านของเพื่อนครูที่บ้านม่วง ต.ในเมือง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ห่างจากบ้านกระเบื้องน้อยประมาณ 1 กิโลเมตร เสียดายตอนนี้ถูกตัดทิ้งไปแล้ว หลังจากนั้นยังไม่เจออีก ยังเห็นแต่ต้นนี้ที่เขายังไม่ตัดทิ้ง หากใครเคยเห็นแล้ว (ที่สวนหลวง ร.9 เห็นมีอยู่) และรู้ว่ามีมากที่ไหน ช่วยแนะนำด้วยครับ ยังไม่เคยผ่าดูข้างในและไม่เคยกินน้ำและเนื้อสักครั้ง ไม่ทราบว่าเหมือนมะพร้าวหรือเปล่า
เมื่อมองในแง่การทำงานและการบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานศึกษา มีการนำหลักการ นวัตกรรมทางการบริหารมาใช้อย่างมากมาย เช่น การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน SBM การจัดการความรู้ KM การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ RBM ฯลฯ นำมาใช้แบบเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ได้ผลดีหรือไม่ได้ผลก็มี นำนวัตกรรมมาใช้หวังให้เกิดผลตามที่ต้องการแต่กลับได้ผลเป็นอีกอย่างเหมือนการปลูกมะพร้าว ออกลูกเป็นมะแพร้ว ดังนั้นผู้บริหารก่อนจะนำหลักการอะไรสักอย่างที่เห็นว่าน่าจะดี เข้าท่าอย่างมาก มาใช้ต้องผ่านการวิเคราะห์ ทำความเข้าใจหลักการให้ถ่องแท้ ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม จึงจะเกิดผลดี เหมือนการปลูกมะพร้าว ออกลูกเป็นมะพร้าว กลายเป็นมะพร้าวกะทิไปเลยยิ่งดี
สนใจหาดูได้ที่ ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง แล้วคุณจะรู้ว่า ต้นมะแพร้ว กับ ต้นมะพร้าวแตกต่างกันอย่างไร
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น